** สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ LINE ID: @droneacademy **
แพทย์ศัลยประสาทประเทศสิงคโปร์กำลังทดลองใช้แว่น Hololens 2 ของไมโครซอฟต์ซึ่งช่วยตรวจหาเนื้องอกในสมองได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย
ระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยแห่งชาติประเทศสิงคโปร์ (NUHS) ได้ทดลองใช้งานชุดแว่น Hololens 2 ของไมโครซอฟต์เพื่อช่วยแพทย์ระบุตำแหน่งของเนื้องอกระหว่างการผ่าตัดสมองของโครงการวิจัย
โดยในเฟสแรกของโครงการทีมแพทย์ศัลยประสาทจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติ(NUH) ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ (NUHS) ได้เริ่มใช้แว่น Hololens ในการแสดงภาพโฮโลแกรมสามมิติที่ได้สแกนสมองของคนไข้ออกมาและวางซ้อนไปบนศีรษะของคนไข้ระหว่างการผ่าตัด
ลิงค์: https://www.computerweekly.com/news/252505214/Singapores-NUHS-kicks-off-holomedicine-research
โฮโลแกรมจะถูกสร้างขึ้นจากการภาพ CT Scan สมองของคนไข้ด้วยซอฟต์แวร์ทางการแพทย์สามมิติจาก apoQlar ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ holomedicine จากเยอรมัน เมื่อศัลยแพทย์ได้วางโฮโลแกรมไว้บนศีรษะของคนไข้แล้ว ศัลยแพทย์จะสามารถเห็นสมองของคนไข้ในมุมต่าง ๆ จากภาพโฮโลแกรมในรูปแบบสามมิติ
นอกจากนี้ศัลยแพทย์ยังสามารถดึงข้อมูลและปรับเปลี่ยนภาพที่เห็นจากแว่น Hololens นั้นได้ด้วยการใช้ท่าทางมือและเสียงพูด ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถควบคุมภาพโฮโลแกรมที่ซ้อนทับอยู่บนตัวของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
ตัวแทนของ NUHS กล่าวว่าโครงการวิจัยด้วยซอฟต์แวร์ holomedicine จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาแอปพลิเคชันทางคลินิกรุ่นต่อไปและเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วยให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการเสริมทางคลีนิกและส่งเสริมการศึกษาระดับในปริญญาตรีและสูงกว่าอีกด้วย
ในขณะที่การใช้เทคโนโลยีโฮโลแกรมในโรงภาพยนตร์เพิ่งเกิดขึ้น ทาง NUHS อยากจะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการผ่าตัดสาขาต่าง ๆ รวมไปถึงการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กและการผ่าตัดดวงตา
“เทคโนโลยีโฮโลแกรมนี้อาจจะเปลี่ยนวิธีการฝึกแพทย์ของเราไปอย่างสิ้นเชิง การเริ่มต้นนำมาใช้ก่อนนั้นทำให้ NUHS กลายเป็นผู้นำด้านการวิจัยทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี Mixed Reality และเป็นผู้บุกเบิกในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในคลีนิกอีกด้วย” กล่าวโดย Ngiam Kee Yuan ประธานฝ่ายเทคโนโลยีของกลุ่ม NUHS ซึ่งดูแลการวิจัยและการพัฒนาซอฟต์แวร์ holomedicine
Yeo Tseng Tsai หัวหน้าและที่ปรึกษาอาวุโสแผนกศัลยกรรมประสาทของ NUH กล่าวเสริมว่า “ด้วยเทคโนโลยีโฮโลแกรมนี้คุณสามารถมองเห็นด้านในสมองของมนุษย์ได้ มองเห็นหลอดเลือดและที่สำคัญสามารถเห็นตำแหน่งของเนื้องอกได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งยังสามารถรู้ถึงตำแหน่งที่จะทำการผ่าตัดด้วย เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ที่เราใช้ระบบนำทางแบบใช้มือถือเพื่อนำทางและค้นหาตำแหน่งของเนื้องอก ถ้าเทียบกันแล้วระบบ Mixed Reality นี้ใช้งานง่ายกว่า เนื่องจากสามารถมองเห็นเนื้องอกในสมองได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องเงยหน้าขึ้นมองที่จอคอมพิวเตอร์เพื่อนำทางไปยังตำแหน่งของเนื้องอกในขณะที่ทำการผ่าตัด ทำให้การค้นหาเนื้องอกทำได้เร็วขึ้นและแม่นยำมากขึ้น”
ตัวแทนของ NUHS กล่าวว่า เราคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยปรับปรุงการดูแลและเพิ่มความปลอดภัยจากการผ่าตัดของคนไข้ได้ดีขึ้น และน้ำหนักของแว่น Hololens หนักประมาณ 500 กรัม ซึ่งสามารถใช้งานแทนอุปกรณ์ขนาดใหญ่ในห้องผ่าตัดได้และยังช่วยลดการสัมผัสรังสีจากการเอ็กซ์เรย์ในขั้นตอนการผ่าตัดต่าง ๆ ได้ เช่น การผ่าตัดกระดูกสันหลัง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ภาพเอ็กซ์เรย์เพื่อเป็นแนวทางในการใส่รากฟันเทียมที่เป็นโลหะ
ตัวแทนของ NUHS กล่าวว่า คนไข้เองก็สามารถใช้งานแว่น Hololens 2 ด้วยตนเองได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจขั้นตอนการผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการฉายภาพสแกนสมองของผู้ป่วยในรูปแบบ 3 มิติเพื่อแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ของการผ่าตัดช่วยให้คนไข้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน
ในอนาคตข้างหน้า NUHS กำลังหาทางบูรณาการซอฟต์แวร์ holomedicine ให้เข้ากับระบบของโรงพยาบาลที่มีอยู่ พร้อมทั้งพัฒนาขั้นตอนสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้ใช้งานและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลเพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
ระหว่างการแถลงข่าว Yeo กล่าวว่า เรื่องความถูกต้องของเทคโนโลยีนั้นจะต้องถูกตรวจสอบด้วยระบบนำทางแบบใช้มือถือที่มีการใช้งานอยู่แล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งต้องให้ศัลแพทย์ทางด้านสมองเป็นผู้ช่วยชี้ที่หน้าจอเพื่อค้นหาเนื้องอก ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานด้านสุขภาพเพื่อสามารถนำมาใช้งานกับคนทั่วไปได้